การจัดระเบียบทางสังคม

1. ความหมายการจัดระเบียบทางสังคม
          ความหมายการจัดระเบียบทางสังคม คือ วิธีการต่างๆที่คนในสังคมกำหนดขึ้น เพื่อใช้เป็นระเบียบกฎเกณฑ์ในการอยู่ร่วมกันทำให้สังคมได้รู้ว่าควรปฏิบัติตนและกระทำตนอย่างไรแต่ละโอกาส เรียกแบบแผนและกฎเกณฑ์นี้ "ระเบียบทางสังคม"

2. องค์ประกอบของการจัดระเบียบทางสังคม
          องค์ประกอบของการจัดระเบียบทางสังคมเป็นสิ่งที่คนในสังคมสร้างขึ้นและเป็นส่วนหนึ่งของวัฒนธรรมเพื่อสามารถนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์ในการอยู่ร่วมกัน องค์ประกอบของการจัดระเบียบสังคมที่สำคัญ ได้แก่

     1.ระบบคุณค่าของสังคม (social value) ถือเป็นหัวใจหรือเป้าหมายสูงสุดที่สังคมปราถนาจะให้เกิดขึ้น คุณค่านี้เป็นสิ่งที่สมาชิกในสังคมยอมรับว่าเป็นสิ่งที่ดีงามเพราะจะทำให้เกิดความร่มเย็นในสังคม เรียกระบบคุณค่าของสังคมว่า "ข้อตกลงของสังคม" ที่เกิดจากการผสมผสานและการสังเคราะห์ระหว่างความเชื่อปรัชญา ศาสนา และภูมิปัญญาของสังคมที่หล่อหลอมจนเป็นคุณค่าหรือค่านิยมที่น่ายกย่อง
        ระบบคุณค่าของสังคม ทำหน้าที่ เหมือนเป็นสมองของมนุษย์เป็นศูนย์รวมที่กำหนดให้ส่วนต่างๆของร่างกายดำเนินงานไปตามกลไกให้บรรลุเป้าหมาย

      2.บรรทัดฐานหรือปทัสถนาทางสังคม(social norms) คือ มาตรฐานการปฏิบัติตามบทบาทและสถานภาพของแต่ละบุคคลบรรทัดฐานจึงเป็นเหมือนกลไกทางสังคมที่ค่อยควบคุมความประพฤติของสมาชิกในสังคม ถ้าสังคมใดขาดบรรทัดฐานก็จะทำให้สังคมนั้นเกิดความวุ่นวาย บรรทัดฐานจึงมีประโยชน์มากในสังคม  ประกอบของบรรทัดฐาน มีดังนี้

             2.1 วิถีประชา (folkways) หรือธรรมเนียมชาวบ้าน เป็นระเบียบแบบแผนที่สมาชิกทุกคนในสังคมควรปฏิบัติตาม หากไม่ปฏิบัติตามหรือฝ่าฝืนจะถูกสังคมตำหนิติเตียนแต่ถ้าหากทำความดีตามมาตรฐานที่สังคมกำหนดก็จะได้รับคำชมเชยเล็กน้อย
             2.2 จารีต (mores) หรือเรียกว่ากฎศีลธรรม เป็นมาตรฐานการกระทำที่สำคัญ ผู้ที่ทำผิดจารีตจะถูกนินทาว่าร้ายถูกตำหนิรุนแรงและเป็นที่รังเกียจของสังคม จารีตเป็นเรื่องเกี่ยวกับค่านิยม ปรัชญา และอุดมการณ์ของสังคมที่เป็นกฎเกณฑ์หลักของสังคม
             2.3 กฎหมาย (Law) เป็นข้อบังคับที่รัฐจัดทำขึ้นโดยกำหนดบทลงโทษผู้ที่ฝ่าฝืนตามระดับความรุนแรงของการกระทำไว้อย่างชัดเจน

       3.สถานภาพและบทบาท
     สถานภาพทางสังคม (social status) คือ ตำแหน่งที่บุคคลครอบครองอยู่มีสิทธิและหน้าที่ตามบทบาทของตำแหน่งนั้นๆ
      บทบาททางสังคม (social role) คือ หน้าที่หรือพฤติกรรมที่แต่ละสังคมกำหนดให้ผู้ดำรงตำแหน่งต่างๆในสังคมกระทำ  โดยสถานภาพสามารถจำแนกได้ 2 ประเภท ดังนี้
           3.1 สถานภาพที่ติดตัวมาแต่กำเนิด ( ascribed status) เป็นสถานภาพที่สังคมกำหนดให้บุคคลไม่มีทางเลือก เช่น เพศ อายุ สีผิว เป็นต้น โดยสถานภาพประเภทนี้ไม่สามารถเปลี่ยนแปลงได้
           3.2 สถานภาพสัมฤทธิ์ (achieved status) เป็นสถานภาพที่ได้มาจากการใช้ความรู้ความสามารถของแต่ละบุคคล

   

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น